ครูเดชแลกเปลี่ยนเรียนรู้

วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

วิสาขบูชา...กิจกรรมดีดีของชาวสมเด็จพระญาณสังวร





วันวิสาขบูชา หรือ วันเพ็ญเดือน 6 นับเป็นวันที่สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญของพระพุทธศาสนามากถึง 3 เหตุการณ์ คือ เป็นวันคล้ายวันประสูติ, ตรัสรู้ และปรินิพพาน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนั้นจึงมีคำเรียกวันนี้อีกอย่างหนึ่งว่า "วันพระพุทธเจ้า"

วันวิสาขบูชา หรือ วิศาขบูชา (บาลี: วิสาขปูชา; อังกฤษ: Vesak) เป็น "วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล" ของชาวพุทธทุกนิกายทั่วโลก, วันหยุดราชการ ในหลายประเทศ และ วันสำคัญของโลก ตามมติเอกฉันท์ของที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ[1] เพราะเป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา 3 เหตุการณ์ด้วยกัน คือ เป็นวันคล้ายวันประสูติ, ตรัสรู้ และปรินิพพาน แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยทั้งสามเหตุการณ์นั้นได้เกิดตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือในวันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขมาส (ต่างปีกัน) ชาวพุทธจึงถือว่าเป็นวันที่รวมเกิดเหตุการณ์อัศจรรย์ยิ่ง จึงเรียกการบูชาในวันนี้ว่า "วิสาขบูชา" ย่อมาจาก"วิสาขปูรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" อันเป็นเดือนที่สองตามปฏิทินของอินเดีย ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนพฤษภาคม หรือมิถุนายน โดยในประเทศไทย ถ้าในปีใดมีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 7 หลัง ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทอื่นที่ไม่ได้ถือคติตามปฏิทินจันทรคติของไทย จะจัดพิธีวิสาขบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 แม้ในปีนั้นจะมีเดือน 8 สองหนตามปฏิทินจันทรคติไทยก็ตาม[2] และในกลุ่มชาวพุทธมหายานบางนิกาย ที่นับถือว่าเหตุการณ์ทั้ง 3 นั้น เกิดในวันต่างกันไป จะมีการจัดพิธีวิสาขบูชาต่างวันกันตามความเชื่อในนิกายของตน ๆ ซึ่งจะไม่ตรงกับวันวิสาขบูชาตามปฏิทินของชาวพุทธเถรวาท [3]

วันวิสาขบูชานั้น ได้รับการยกย่องจากพุทธศาสนิกชนทั่วโลกให้เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล เนื่องจากเป็นวันที่บังเกิดเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์ ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้าและจุดเริ่มต้นของศาสนาพุทธ ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดได้เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน ณ ดินแดนที่เรียกว่าชมพูทวีปในสมัยพุทธกาล โดยเหตุการณ์แรก เมื่อ 80 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ" ณ ใต้ร่มสาละพฤกษ์ ในพระราชอุทยานลุมพินีวัน (อยู่ในเขตประเทศเนปาลในปัจจุบัน) และเหตุการณ์ต่อมา เมื่อ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันที่เจ้าชายสิทธัตถะได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ณ ใต้ร่มโพธิ์พฤกษ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม (อยู่ในเขตประเทศอินเดียในปัจจุบัน) และเหตุการณ์สุดท้าย เมื่อ 1 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันเสด็จดับขันธปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ณ ใต้ร่มสาละพฤกษ์ ในสาลวโนทยาน พระราชอุทยานของเจ้ามัลละ เมืองกุสินารา (อยู่ในเขตประเทศอินเดียในปัจจุบัน) โดยเหตุการณ์ทั้งหมดล้วนเกิดตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 หรือเดือนวิสาขะนี้ทั้งสิ้น ชาวพุทธจึงนับถือว่าวันเพ็ญเดือน 6 นี้ เป็นวันที่รวมวันคล้ายวันเกิดเหตุการณ์สำคัญ ๆ ของพระพุทธเจ้าไว้มากที่สุด และได้นิยมประกอบพิธีบำเพ็ญบุญกุศลและประกอบพิธีพุทธบูชาต่าง ๆ เพื่อเป็นการถวายสักการะรำลึกถึงแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสืบมาจนปัจจุบัน

วิสาขบูชา มีการนับถือปฏิบัติกันในหลายประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาทั้งมหายานและเถรวาททุกนิกายมาช้านานแล้ว ในบางประเทศเรียกพิธีนี้ว่า "พุทธชยันตี" (Buddha Jayanti) เช่นใน อินเดีย และศรีลังกา ในปัจจุบันมีหลายประเทศที่ยกย่องให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ เช่น ประเทศอินเดีย, ประเทศบังกลาเทศ, ประเทศไทย, ประเทศพม่า, ประเทศศรีลังกา, สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เป็นต้น (ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่มีสัดส่วนประชากรที่นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทมากที่สุด) ในฝ่ายของประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ได้รับคติการปฏิบัติบูชาในวันวิสาขบูชามาจากลังกา (ประเทศศรีลังกา) ในประเทศไทยปรากฏหลักฐานว่ามีการจัดพิธีวิสาขบูชามาตั้งแต่สมัยสุโขทัย

วันวิสาขบูชา ถือได้ว่าเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล เพราะชาวพุทธทุกนิกายจะพร้อมใจกันจัดพิธีพุทธบูชาในวันนี้พร้อมกันทั่วทั้งโลก[4] (ซึ่งไม่เหมือนวันมาฆบูชา และวันอาสาฬหบูชา ที่เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่นิยมนับถือกันเฉพาะในประเทศไทย, ลาว, และกัมพูชา) และด้วยเหตุนี้ ประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาชาติจึงยกย่องให้วันวิสาขบูชาเป็น "วันสำคัญสากลนานาชาติ (International Day)" หรือ "วันสำคัญของโลก" ตามคำประกาศของที่ประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาชาติ ครั้งที่ 54 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2542

ปัจจุบัน ประเทศไทยได้ประกาศให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ โดยพุทธศาสนิกชนทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ พระสงฆ์ และประชาชน จะมีการประกอบพิธีต่าง ๆ เช่น การตักบาตร การฟังพระธรรมเทศนา การเวียนเทียน เป็นต้น เพื่อเป็นการบูชารำลึกถึงพระรัตนตรัยและเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์ดังกล่าว ที่ถือได้ว่าเป็นวันคล้ายวันที่ "ประสูติ" ของเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ซึ่งต่อมาได้ "ตรัสรู้" เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงกอปรไปด้วย "พระบริสุทธิคุณ", "พระปัญญาคุณ" ผู้ซึ่งได้ทรงสั่งสอนประกาศพระสัจธรรม คือความจริงของโลกแก่พหูชนทั้งปวงโดย "พระมหากรุณาธิคุณ" จวบจนทรง "เสด็จดับขันธปรินิพพาน" ในวาระสุดท้าย ซึ่งทั้งสามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสืบเนื่องในวันเพ็ญเดือน 6 ทั้งสิ้นนี้ ทำให้พระพุทธศาสนาได้บังเกิดและสืบต่อมาอย่างมั่นคงจนถึงปัจจุบัน

ที่มา : http://www.th.kiwipedia.org
วันที่ 27 พฤษภาคม 2553 คณะครู นักเรียน และบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนสมเด็จพระญาณสังวร ได้นำนักเรียนทำบุญเนื่องวันวันวิสาขบูชา ที่วัดบ้านบกน้อย ซึ่งเป็นชุมชนของโรงเรียนตั้งอยู่...ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ทางโรงเรียนได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องในฐานะชาวพุทธ นำมาซึ่งความสุขทางใจอันจะส่งผลดีทางกายต่อไป

วันพุธที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

เกิดอะไรขึ้นกับเด็กไทย..ในปัจจุบัน

วันนี้ได้มีโอกาสสอนเด้ก ม.4/2 แล้วทำให้เกิดความรู้สึกที่น่าเวทนาสงสารประเทศไทยในอนาคต...เกิดอะไรขึ้นเด็กห้อง 4/2 แผนทั่วไป ซึ่งจะเป็นนักเรียนกลุ่มที่ไม่ค่อยสนใจการเรียน เรียนอ่อน ความรับผิดชอบน้อย แต่มีพฤติกรรมที่ก้าวร้าว จากประสบการณ์สอนมาสิบกว่าปีตั้งแต่เขาหักไม้เรียวและมีการปฏิรูปการศึกษา ยุคของสิทธิมนุษยชน ที่ตามใจจนทำให้เด็กได้ใจนี้...ครูอธิบาย สั่งงานแล้วให้นักเรียนทำงาน จากการเดินสำรวจและสังเกตพฤติกรรมพบว่านักเรียนที่รู้จักวางแผนก่อนทำงาน มีเพียงคนเดียวจาก 30 คนที่เหลือนั่งคุยนั่งบ่น ทำไม่ได้ ๆ ทั้งๆที่ยังไม่ลงมือปฏิบัติ ...นึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าที่แบ่งบัวออกเป็นสี่เหล่า โดยเฉพาะเหล่าสุดท้ายที่พระพุทธเจ้าท่านจะไม่สอนเลย...แต่ครูไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้จำยอมและได้แต่ปลงกับเด็กที่ขาดความรับผิดชอบแล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับประเทศไทยในภายภาคหน้า...ที่เด็กกลุ่มนี้จะไปเป็นผู้ใหญ่ ไม่อยากจะคิดเลย ก็ได้แต่ภาวนาให้เขาเหล่านี้เปลี่ยนใจตั้งใจ

อบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์






อบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 3 วันที่ 20 - 21 พฤษภาคม 2553 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ขอขอบคุณวิทยากรที่ให้ความรู้ทุกท่าน ได้ประโยชน์อย่างมาก สามารถนความรู้มาต่อยอดให้นักเรียนได้เรียนรู้ และข้อคิดที่สำคัญครูควรดึงสื่อที่อยู่รอบตัวเรามาเชื่อมโยงให้ความรู้เพื่อให้นักเรียนได้เกิดความสนใจมากยิ่งขึ้น..

วันอาทิตย์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ตบประทายลำเซบาย


เสาร์ที่ 22 พฤษภาคม 2553 ร่วมกิจกรรม กับชุมชนบ้านนาแก บ้านม่วง บ้านหนองตุกหลุก ต.นาแก อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร ตบประทายที่ลำเซบาย เพื่อขอฟ้าขอฝนจากเทวดา มีกิจกรรมทำบุญเลี้ยงพระ เป็นกิจกรรมที่ดีทำให้ประชาชนเกิดความสามัคคี อีกทั้งเป็ฯกำลังใจในการทำนาในฤดูกาลที่จะมาถึง เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ

วันอาทิตย์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ค่ายพัฒนาศักยภาพผู้เรียน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4






วันที่ 14 พฤษภาคม 2553 โรงเรียนสมเด็จพระญาณสังวร ได้จัดกิจกรรมค่ายพัฒนาศักยภาพผู้เรียน สำหรับนักเรียนใหม่ ปีการศึกษา 2553 ระดับชั้นมัธบมศึกษาปีที่ี 1 และ 4 เพื่อให้นักเรียนมีความพร้อมและตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพทางด้านการเรียนการสอนและพัฒนาทักษะชีวิต ตามหลักสูตรใหม่ ตลอดจนให้นักเรียนมีความพร้อม และเข้าหลักการปฏิบัติตนเพื่อให้การเรียนเรียนรู้เต็มตามศักยภาพ โดยบบรยากาศเป็นไปด้วยความสนุกสนานและเป็นกันเอง ระหว่างรุ่นพี่ รุ่นน้อง และครูอาจารย์

วันจันทร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

วิพากษ์หลักสูตร พุทธศักราช 2551

ศูนย์เครือข่ายสมเด็จพระญาณสังวร จำนวน 10 โรง ได้จัดกิจกรรมวิพากษ์หลักสูตรสถานศึกษาในวันที่ 10 พฤษภาคม 2553 ณ ห้องโสตทัศนศึกษา โรงเรียนสมเด็จพระญาณสังวร เพื่อให้การจัดทำหลักสูตรเป็นไปด้วยความถูกต้องและสมบูรณ์ โดยมีวิทยากรจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายโสธร เขต 1 มาให้คำแนะนำ

ปฐมนิเทศนักเรียน ปีการศึกษา 2553






วันที่ 10 -13 พฤษภkคม 2553 โรงเรียนสมเด็จพระญาณสังวร ได้จัดกิจกรรมปฐมนิเทศนักเรียน ประจำปีการศึกษา 2553 ณ หอประชุมโรงเรียน โดยมีรายละเอียดดังนี้
วันที่ 10 พฤษภาคม 2553 ปฐมนิเทศนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 และ 4
วันที่ 11 พฤษภาคม 2553 ปฐมนิเทศนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 และ 3
วันที่ 12 พฤษภาคม 2553 ปฐมนิเทศนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 และ 6
โดยกิจกรรมเป็นการชี้แจงรายละเอียดการปฏิบัติ การเรียน และการแจกเงินค่าใช้จ่ายตามโครงการเรียนฟรี 15 ปี ซึ่งผู้ปกครองให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมเป็นอย่างดี
ส่วนวันที่ 14 พฤษภาคม 2553 เป็นการเข้าค่ายนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 และ 4

ร่วมงานประเพณีบุญไฟของหมู่บ้าน ฯ






วันที่ 8 -9 พฤษภาคม 2553 เป็นการจัดกิจกรรมประเพณีบุญบั้งไฟประจำปีของชาวจังหวัดยโสธร โดยวันที่ 8 พฤษภาคม 2553 เป็นวันแห่บั้งไฟ และวันที่ 9 พฤษภาคม 2553 เป็นวันแข่งขันจุดบ้งไฟขึ้นสูง และที่ชุมชนของผมบ้านนาแก ต.นาแก อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร ก็มีประเพณีบุญบั้งไฟเหมือนกัน เพื่อสืบสานประเพณีขอฟ้าขอฝนจากองค์พญาแถน เทวดาที่ทำหน้าที่ให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล บรรยากาศก่อนขบวนแห่ประมาณบ่ายสามโมง มีฝนตกหนัก ฝนภาพบรรยากาศ